สรุปบทเรียนที่
6
System Requirement
วิศวกรรมความต้องการ
กระบวนการวิศวกรรมความต้องการ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. ศึกษาความเป็นไปได้
เป็นขั้นตอนการศึกษาเพื่อตัดสินใจว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่
- ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่
- เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถนำมาพัฒนาระบบได้หรือไม่
สามารถทำได้ไหม
- ระบบใหม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเก่าได้หรือไม่
ในการศึกษาความเป็นไปได้จะทำให้
1. ถ้าไม่พัฒนาระบบจะเกิดอะไรขึ้น
2. ปัญหาที่พบมีอะไรบ้าง
3. ระบบใหม่สามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
4. ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรและใช้ความสามารถพิเศษอะไรบ้าง
2. ค้นหาและวิเคราะห์ความต้องการ
ในขั้นตอนนี้เพื่อนำความต้องการที่ได้ไปสร้างเป็นแบบจำรอง ในการค้นหาและวิเคราะห์ความต้องการ
เราต้องส่ง
เจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อค้นหาว่าในการทำงานของ User มีความต้องการอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร
นอกจากนี้เรายังต้องสอบถามความต้องการจากผู้เกี่ยวข้องคนอื่นๆด้วย
3. กำหนดความต้องการ
นำความต้องการที่ได้มาทำการวิเคราะห์แล้วทำการกำหนดเป็นความต้องการของ
User และ System ทำให้ในขั้น
ตอนนี้เราได้ความต้องการของ
user และ system
4. ตรวจสอบความต้องการ
ตรวจสอบความต้องการที่ได้
เพื่อลดความผิดพลาดหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น ความต้องการที่ทับซ้อนกัน
ความต้องการ
ที่มากเกินต้นทุนที่กำหนดไว้
เมื่อสิ้นสุดการตรวจสอบเราจะได้เอกสารความต้องการที่ถูกต้อง
รูปแบบในการตรวจสอบ
1. ตรวจสอบความเที่ยงตรงจากตัวแทนผู้ใช้
2. ความสมบูรณ์ของความต้องการ
3. ความเป็นไปได้ของความต้องการทางด้าน
เทคโนโลยี
4. สามารถพิสูจน์ได้
เช่น ทำให้ลูกค้าเห็นได้ Prototype
ปัญหาในการวิเคราะห์ความต้องการ
1. Stakeholder
ไม่มีความรู้ความเข้าใจ
2. Stakeholder อธิบายความต้องการด้วยศัพท์ทางเทคนิคที่เขาเข้าใจ
และเราไม่เข้าใจ อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้
3. Stakeholder
มีความต้องการที่แตกต่างกัน เราต้องแบ่งกลุ่มความต้องการเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกัน
4. การเมืองและความขัดแย้งในองค์กร
ส่งผลต่อระบบ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดล้มเหลวในการพัฒนาได้
5. มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการระหว่างการพัฒนา
เช่น SK คนใหม่เข้ามา ธุรกิจเปลี่ยน
เปลี่ยนเทคโนโลยี
ทำไมต้องมีการปรับเปลี่ยนความต้องการ
1. ในระบบมีผู้ใช้หลายกลุ่ม
เราต้องจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งใน SK
2. งบประมาณไม่เพียงพอ
3. สภาพแวดล้อม และ
เทคโนโลยี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการให้มีความสอดคล้อง
และ เหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น